สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม

ผู้ประกอบการ SMEs ไทย รอดพ้นจากวิกฤติตลาดที่แข่งขันสูง ด้วยการปรับปรุงระบบ ERP ที่มีอยู่เดิม ให้สามารถเชื่อมโยงและรองรับการนำเข้าข้อมูลจากเครื่องจักรโดยอัตโนมัติ พร้อมต่อยอดการใช้งาน ROBOT เพื่อลดต้นทุนแรงงาน

ผู้ประกอบการ SMEs ไทย รอดพ้นจากวิกฤติตลาดที่แข่งขันสูง ด้วยการปรับปรุงระบบ ERP ที่มีอยู่เดิม ให้สามารถเชื่อมโยงและรองรับการนำเข้าข้อมูลจากเครื่องจักรโดยอัตโนมัติ พร้อมต่อยอดการใช้งาน ROBOT เพื่อลดต้นทุนแรงงาน

          บริษัท ไมโคร ปรีซิชั่น จำกัด ผู้ผลิตแม่พิมพ์ การหล่อขึ้นรูปชิ้นส่วนอลูมิเนียม เพื่อตอบสนองในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ โดยในกระบวนการผลิตของบริษัทฯ ประสบปัญหาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เสียโอกาสทางการแข่งขัน การบริหารจัดการยังเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลด้วยกระดาษ ระบบการทำงานขาดความเชื่อมโยงข้อมูล หากเกิดการเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อของลูกค้าระหว่างเดือน ทำให้ไม่สามารถทำได้ทันทีและแม่นยำ ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลจากหลายส่วนงาน ส่งผลให้การตัดสินใจทางธุรกิจของผู้บริหารขาดประสิทธิภาพ ไม่ทันท่วงที ทำให้ขาดโอกาสทางการค้าอย่างต่อเนื่อง

          โดยในปี 2562 – 2563 ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ร่วมกับ สถาบัน ICTI, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติเงินทุนสนับสนุนมูลค่า 1 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นจริง ภายใต้โครงการ depa Digital Transformation Funds โดยที่ SME ต้องมีการร่วมลงทุนอย่างน้อย 50% มีระยะเวลา 1 ปี

       ซึ่งจากการดำเนินงานโครงการของบริษัท ไมโคร ปรีซิชั่น จำกัด ร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญ ได้มีการนำเสนอโซลูชั่นและแผนงานในการปรับปรุงระบบ ERP ที่มีอยู่เดิมและเชื่อมโยงระบบให้รองรับการนำเข้าข้อมูลจากเครื่องจักรโดยอัตโนมัติ และติดตั้งอุปกรณ์ Sensors ที่เครื่องจักร และมีการใช้งาน Robot เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้แบบเรียลไทม์ โดยในระยะแรกภายใต้โครงการได้มีการทำ Prototype การใช้งานหุ่นยนต์เพียง 1 ตัวก่อน ในจุดสำหรับการอัดฉีดชิ้นงานอลูมิเนียม

          ซึ่งภายหลังจากการดำเนินงานโครงการ และได้ติดตามผลมาสักระยะหนึ่ง พบว่า สามารถลดต้นทุนแรงงานได้ทันที ซึ่งจากการทำ Prototype การใช้งาน Robot ในจุดการอัดฉีดชิ้นงานอลูมิเนียม จำนวน 1 ตัว สามารถแทนคนงานได้ถึง 8 คน ส่งผลให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 80% จากอัตราเดิม และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคำสั่งซื้อของลูกค้าได้มากขึ้น จากเดิมมูลค่างานค้างส่งในระบบเฉลี่ย 1,200,000 บาทต่อเดือน คงเหลือ 340,000 บาท ในเดือนแรก และมีแนวโน้มจะลดลงมากขึ้นเรื่อยๆ

          นอกจากนี้ ผู้บริหารซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มการลดต้นทุนโดยรวม และโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของบริษัท จึงได้มีแผนงานในการเพิ่มการลงทุนในหุ่นยนต์ ROBOT มากขึ้น โดยขยายไปยังส่วนไลน์การผลิตอื่นๆ ทั้งในส่วนของการพิมพ์และหยิบจับชิ้นส่วนอลูมิเนียม เพิ่มอีกจำนวน 10 ตัว ในปีถัดไป

 

______________________________________________

ตัวจริงเรื่อง New Technology for Industry วางใจ “สถาบัน ICTI”

ให้บริการโดย ICTI Alliance Partner, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สนใจร่วมเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ของเรา

ติดต่อ @line: @icticlub / e-mail: fti.ictihub@gmail.com